วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556


บทที่ 1 การติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต


ความหมายของอินเตอร์เน็ต
                อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
                อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
ประวัติความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
                อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)
                มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)
                ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก
                ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด
                สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา
                อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด

การทำงานของระบบอินเตอร์เน็ต

พื้นฐานการทำงานของระบบอินเตอร์เน็ต
                ระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นอาศัยโปรโตคอล TCP/IP เป็นหลัก สิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับโปรโตคอล TCP/IP ก็คือ การต่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดเข้าสู่ระบบเครือข่ายที่เป็น TCP/IP นั้นทุกเครื่องจะต้องมีหมายเลขกำกับเสมอ เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูลหมายเลขที่กำกับนี้มีชื่อว่าหมายเลย IP หมายเลขนี้จะเป็นเลขฐาน 2 ขนาด 32 บิตสามารถเขียนได้เป็นเลขฐาน 2 จำนวน 4 ชุดแยกจากกันโดยใช้จุดคั่นเลขแต่ละชุดสามารถ สามารถเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 0-255 เช่น 192.150.249.11, 64.4.43.7 เป็นต้น
11111111 . 11111111 . 11111111 . 111111112
255 . 255 . 255 . 255
จากหมายเลข IP ขนาด 32 บิตที่ใช้ในปัจจุบันทำให้สามารถมีจำนวนเครื่องที่เข้าใช้ ได้จำนวนหลายพันล้านเครื่องแล้วแต่จำนวนขนาดนี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทำให้ต้องมีโครงการขยายหมายเลข IP ออกไปอีกในปัจจุบัน ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ทุกเครื่องที่สามารถต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้ จะต้องมีหมายเลข IP ด้วยเสมอสามารถดูได้จากโปรแกรมที่เตรียมไว้ในเครื่อง เช่นในระบบ windows จะใช้คำสั่ง winipcfg สามารถเข้าไปที่ Start / Run / winipcfg แล้วกด ok จะมีหน้าต่างแสดงข้อมูลเกี่ยวกับหมายเลข IP ปรากฏขึ้นมาดังภาพ ถ้าเป็นระบบอื่น ๆ ก็จะใช้คำสั่งที่แตกต่างกันไปสามารถตรวจสอบได้จากคู่มือที่มากับเครื่อง
ระบบ Domain Name
                ระบบนี้สร้างขึ้นมาเพื่อนำชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายกว่าตัวเลข IP มาใช้ในการขอใช้ บริการ จากเครื่องต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นบริการ แบบ world wide web คล้ายกับการที่ทางราชการกำหนดให้ประชาชนจะต้องทำบัตรประชาชน ในบัตรก็จะมีตัวเลขประจำตัวที่ยาวมาก ไม่ค่อยมีใครจดจำนักแต่มีชื่อและนามสกุลที่จำได้ง่ายกว่าเมื่อใช้เรียก ตัวอย่างเช่น
                นาย สมชาย ใจดี มีหมายเลขประจำตัวผู้ถือบัตรเป็น 3 1101 02545 06 4 ถ้าหากเรียกหมายเลขตามบัตรย่อมเกิดความสับสนได้แน่นอนเพราะจำนวนหลักมีมากแต่ถ้าเรียกชื่อ และนามสกุลย่อมสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าแน่นอน ถ้าเป็น website จะแทนด้วย
www.hotmail.com แทนด้วย 64.4.54.7
www.eau.ac.th แทนด้วย 203.155.193.251
โดยโครงสร้างของชื่อโดเมนจะเป็นดังนี้ ชื่อเครื่อง.ชื่อโดเมน
การตั้งชื่อโดเมนเนมนั้นจะตั้งให้สามารถจดจำได้ง่ายโดยจะมีการแบ่งระดับชั้นดังนี้
ขั้นแรกจะแยกเป็นส่วนของสถานที่ตั้ง (Geographic Location) ส่วนใหญ่ใช้ชื่อประเทศเช่น
ประเทศไทย ใช้ th
ประเทศญี่ปุ่นใช้ jp
ประเทศไต้หวันใช้ tw
ประเทศฝรั่งเศลใช้ fr
ประเทศอังกฤษใช้ uk ฯลฯ
                แต่มีประเทศหนึ่งไม่จำเป็นจะต้องใช้สถานที่ตั้งบอกก็คือประเทศสหรัฐอเมริกา แต่จะใช้กลุ่มของสิ่งที่จะนำเสนอเป็นโดเมนระดับนี้เลย เช่น com(comercial), gov(government), net(network), org(organization), edu(education) แทนชื่อประเทศได้เลย แต่เนื่องจากชื่อโดเมนระดับบนสุดที่ลงท้ายด้วย com, org, net สามารถจดจำได้ง่ายทำให้ผู้ที่จดทะเบียนโดเมนจากประเทศอื่นนำชื่อเหล่านี้ไปใช้เพื่อให้สามารถจำได้ง่าย
                ระดับถัดไปจะแยกเป็นประเภทของสิ่งที่นำเสนอว่าเป็นใด เช่นเป็น หน่วยงานทางธุรกิจ, ราชการ, เกี่ยวกับเครือข่าย, สถาบันการศึกษา ก็จะมีชื่อที่ใช้แทนแต่ละแบบดังเช่นที่ใช้ในประเทศไทยจะใช้ co(company), ac(academic), go(government), or(organization), in(individual) เป็นต้น
www.msn.com
www.hot.in.th
www.eau.ac.th
www.canon.co.jp
                ระดับถัดไปก็จะเป็นชื่อโดเมนที่ผู้ใช้ต้องการจะจดทะเบียนอาจจะเป็นชื่อหน่วยงาน ชื่อบริษัท ชื่อบุคคลหรือคำใด ๆ ที่สื่อความหมายถึงเนื้อหาที่ให้บริการตัวอย่างเช่น
www eau ac th
สามารถอธิบาย ได้ดังนี้
www คือ ชื่อเครื่องโดยส่วนใหญ่จะเป็นชื่อนี้ถ้าเป็นเครื่องที่ให้บริการ World wide web
eau คือ ชื่อโดเมนที่ตั้งขึ้นเพื่อบอกถึงชื่อว่าคือมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
ac คือ ชื่อโดเมนที่บอกว่าเป็นสถาบันการศึกษา
th คือ ชื่อโดเมนระดับบนสุดบอกว่าเป็นประเทศไทย
www bot or th
สามารถอธิบาย ได้ดังนี้
www คือชื่อเครื่อง ตั้งเป็นชื่ออื่นได้แต่เพื่อให้ผู้ใช้บริการคุ้นเคย
bot คือชื่อโดเมนมาจากคำว่า Bank of Thailand เป็นคำย่อที่เป็นภาษาอังกฤษของหน่วยราชการไทยซึ่งมีอีกหลายแห่ง ต้องอาศัยการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพราะการแปลชื่อหน่วยงานให้เป็นภาษาอังกฤษโดยผู้ใช้อาจทำได้ไม่ตรงแล้วค้นหาไม่เจอก็ได้
or คือ หน่วยงาน องค์การอิสระ
th คือประเทศไทย
www Thaimail com
สามารถอธิบายได้ดังนี้
www คือ ชื่อเครื่อง
thaimail คือ ชื่อโดเมน ที่สื่อความหมายถึงเป็นการให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
com คือ หน่วยงานทางธุรกิจ แต่ในที่นี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในประเทศ สหรัฐอเมริกา เพียงแต่ใช้ .com เพราะว่าจำง่าย

บริการต่างๆในอินเตอร์เน็ต

1. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics mail)
2. เครือข่ายใยแมงมุม (WWW : World Wide Web)
3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol)
4. การทำงานข้ามเครื่อง (TelNet)
5. การสนทนาบนเครือข่าย(IRC : Internet Relay Chat)
6. กลุ่มข่าวที่สนใจ (UseNet)
7. การค้นหาข้อมูลและไฟล์ข้อมูล(Gopher/Archie)

1. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics mail)
เป็นบริการที่ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยที่ผู้ส่งจะใช้บัญชีอินเทอร์เน็ต (E-mail Adrress) ส่งข้อมูลประเภทข้อความ รูปภาพ หรือเสียง ผ่านจอคอมพิวเตอรื ไปยังบัญชีอินเทอร์เน็ตของผู้รับ หากผู้รับไม่อยู่ที่จอคอมพิวเตอร์จดหมายนี้จะถูกเก็บไว้ในตู้ โดยที่ผู้รับจะรับเวลาใดหรือตอบกลับเวลาใดก็ได้
ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ/ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลกได้ ซึ่งสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
2. เครือข่ายใยแมงมุม (WWW : World Wide Web)
เป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลในแบบสื่อประสม(Multimedia) คือจะเป็นข้อมูลที่มีทั้งข้อความ ภาพ และเสียงประกอบกัน ซึ่งเป็นบริการที่แพร่หลาย ขยายตัวเร็วที่สุดบนอินเทอร์เน็ต
โปรแกรมที่เป็นประตูเข้าสู่โลก World Wide Web ในปัจจุบันมีหลายรายแต่ที่ได้รับความนิยม คือ Nestcape Communicator) และ Internet Explorer โดยที่ผู้ใช้บริการต้องระบุ URL (Uniform Resource Locator) เป็นที่อยูของเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น www.nu.ac.th
nu หมายถึง มหาวิทยาลัยนเรศวร
ac หมายถึง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
th หมายถึง ประเทศไทย
3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol)
เป็นบริการที่ใช้ในการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ต้องการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งในระบบการสั่งไฟล์นี้อาจเป็นการส่งผ่านเครื่องใด ๆ ในระบบมาไว้ยังเครื่องของเรา ซึ่งเรียกว่า ดาวน์โหลด(Download) หรือส่งผ่านจากเครื่องเราไปยังเครื่องอื่นๆ ในระบบ เรียกว่า การอัพโหลด(Upload)
4. การทำงานข้ามเครื่อง (TelNet)
บริการที่ผู้ใช้บริการต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ตั้งอยู่ไกลออกไปเพื่อเข้าใช้งานเครื่องอื่น ๆ ได้ทั่วโลกเหมือนกับเราไปที่เครื่องนั้นเอง จะต้องมีชื่ออยู่ในสารบบที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ โดยจะใช้ระบุชื่อ และรหัสผ่าน ถ้าระบุได้ถูกต้องก็จะสามารถเข้าไปใช้งานได้ทันที
5. การสนทนาบนเครือข่าย(IRC : Internet Relay Chat)
ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกันทางตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ คุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คน ในลักษณะของการ Chat เช่น โปรแกรม Microsoft Chat ,Pirch และ ICQ เป็นต้น ยังมีโปรแกรมที่พัฒนาให้สามารถพูดโต้ตอบกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกับทางโทรศัพท์ เช่น โปรแกรม Cooltalk เป็นต้น
6. กลุ่มข่าวที่สนใจ (UseNet)
เป็นบริการที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและข่าวสารของกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สนใจตรงกัน หรือคล้าย ๆ กัน ได้ส่งข่าวติดต่อกันและแลกเปลี่ยนแนวคิด
7. การค้นหาข้อมูลและไฟล์ข้อมูล(Gopher/Archie)
เป็นบริการสืบค้นข้อมูล โกเฟอร์(Gopher) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลเพียงค้นหาทีละหัวข้อ แต่ละหัวข้อจะมีเมนูย่อย ๆ ให้เลือก อาร์ชี(Archie) ผู้ใช้บริการทราบเพียงรายละเอียดบางอย่างก็จะแสดงรายชื่อออกมาให้ผู้ใช้ทราบว่าอยู่ที่ใดบ้าง

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

1. วิธีเข้าสู่โลกของอินเตอร์เน็ต ระบบเครื่องและอุปกรณ์ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ 2. อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย 3. โปรแกรมที่ใช้ในการเข้าสู่อินเตอร์เน็ต 4. สมัครเป็นสมาชิกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) Username Password
2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต - ติดตั้งโมเด็ม เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่เดิม - มีโทรศัพท์บ้าน - สมัครเป็นสมาชิกของ ISP ปรับระบบคอมพิวเตอร์ตามข้อกำหนดของ ISP ที่เป็นสมาชิก ( ใส่ UserName, Password) ที่บ้าน
3. โมเด็ม (MODEM) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ชนิดหนึ่ง ที่ช่วยให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ของเรา เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้ PCMCIA MODEM External MODEM Internal MODEM สัญญาณดิจิตอล สาย RS232 โมเด็ม โมเด็ม สายโทรศัพท์ สัญญาณดิจิตอล สาย RS232 สัญญาณอะนาลอก
4. สัญญาณ Analog & Digital
5. การแปลงสัญญาณ Digital เป็น Analog การ Modulation ทางแอมปลิจูด
6. การแปลงสัญญาณ Digital เป็น Analog การ Modulation ทางความถี่
7. การแปลงสัญญาณ Digital เป็น Analog
8. วิธีเข้าสู่โลกของอินเตอร์เน็ต ISP ก็คือบริษัท หรือหน่วยงานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตนั่นเอง ISP เป็นคำย่อของ Internet Service Provider
9. คอมพิวเตอร์รู้จักกันได้อย่างไร 192.168.177.104 203.150.243.179
10. IP Address / Internet Address คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนอินเทอร์เน็ต ต้องมีหมายเลขประจำเครื่องเรียกว่า หมายเลข IP (IP Address หรือ Internet Address)” เปรียบเสมือน บ้านเลขที่มีองค์กรที่ทำหน้าที่จัดสรรหมายเลข IP โดยเฉพาะ เรียกว่า - Internet Network Information Center
11. IP Address / Internet Address หมายเลข IP เป็นเลขฐานสอง มีขนาด 32 บิต (4 ไบต์ - 1 ไบต์มี 8 บิต ) เขียนเป็นเลขฐานสิบ 4 ชุด แต่ละชุดคั่นด้วยเครื่องหมายจุด (dot) เลขฐานสอง 11111111 . 00000000 . 11111111 .00000000 เลขฐานสิบ 255 . 0 . 255 .0
12. IP Address 129.102.16.2 129.102.16.250 129.102.16.40 129.102.16.150 129.102.16.200 129.102.16.1
13. ชื่อโฮสต์ (Host) เครื่องแม่ข่ายในเครือข่าย SchoolNet@1509 มีชื่อเรียกโฮสต์คือ www.school.net.th จะมีหมายเลข IP คือ 202.44.204.80 การแปลงจากชื่อโฮสต์ (Host) ไปเป็น หมายเลข IP เรียกว่า Forward mapping เช่นแปลงจาก www.school.net.th ให้เป็นหมายเลข IP 202.44.204.80 การแปลงจากหมายเลข IP ไปเป็นชื่อโฮสต์ เรียกว่า Reverse mapping เช่น แปลงจากหมายเลข IP 202.44.204.80 เป็น www.school.net.th Example
14. DNS - Domain Name System DNS คือ ระบบการแปลงกลับไป กลับมาระหว่างชื่อโฮสต์ ( Host ) ให้เป็นหมายเลข IP คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะมีหมายเลข IP ไม่ซ้ำกัน การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องต่างๆ จะใช้หมายเลข IP เป็นหลัก หมายเลข IP จำยากกว่าการจำชื่อ จึงมีระบบ DNS เกิดขึ้นมา ชื่อโดเมนไม่ใช่ชื่อที่ถอดมาจากเลขไอพี
15. DNS - Domain Name System com gov th uk jp or go ac nectec nstda mentor ite isd . . . yahoo . . . edu hi5 ku . . . . . .
16. กลไกการทำงานของ DNS DNS server root 4. แจ้งว่า IP address ของ DNS server [.com] อยู่ที่ IP 192 .183.255.20 5 . แจ้งข้อมูลต่อให้ 7 . แจ้งกลับว่าอยู่ที่ IP 192 .183.255.26 6 . ส่งคำสั่ง DNS query ไปถามว่า hi5.com อยู่ที่ไหน DNS server [ .com] IP 192.183.255.20 Web server www.hi5.com IP 192.183.255.26 8. แจ้งข้อมูลคำตอบต่อให้ 1 . คำสั่ง DNS query หาค่าของ www.hi5.com 2. ส่งคำสั่ง DNS query ต่อไปที่ DNS ชั้นบน 3 . ส่งคำสั่ง DNS query ต่อไปที่ DNS ชั้นบน DNS server[.th] DNS server[.ac] เครื่องลูกข่ายใน domain www.ku.ac.th 9. ติดต่อส่งข้อมูลโดยทำ ขั้นตอนการเชื่อมโยง TCP กับ IP 192.183.255.26
17. DNS - Domain Name System โดเมนที่มีตัวอักษร 3 ตัว เรียกว่า Generic domain ส่วนมากใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา com องค์กรธุรกิจ -- commercial edu สถาบันการศึกษา -- education gov หน่วยงานราชการ -- government int องค์กรระหว่างประเทศไทย -- international mil หน่วยงาน ทหาร -- military net ผู้ให้บริการเครือข่าย -- network org องค์กรอื่นๆ -- organization
18. DNS - Domain Name System โดเมนที่มีตัวอักษร 2 ตัว เรียกว่า Country domain เป็นตัวอักษรที่ใช้แทนประเทศต่างๆ th Thailand jp Japan sg Singapore au Australia
19. World Wide Web Web page ข้อมูลข่าวสารที่แสดงเป็นหน้า ๆ เหมือนกับเอกสารบนกระดาษ อาจประกอบด้วยตัวอักษร , กราฟิก , เสียง , ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลใน รูปแบบอื่น ๆ แต่ละเว็บเพจอาจจะเป็นสื่อแบบมัลติมีเดียที่สามารถโต้ตอบ กับผู้ใช้ได้ Home page เพ็จหรือหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นหรือหน้าแรกของเว็บเพจทั้งหมด ที่จะแสดง Link ข้อความ หรือ รูปภาพ ที่ใช้เป็นจุดในการเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้า อื่น ๆ หรือแม้กระทั่งเชื่อมโยงไปยังบริการอื่น ๆ ในอินเทอร์เน็ต
20. การทำงานของ World Wide Web user Web Browser Web Server URL ( Universal Resource Locator ) ตำแหน่งที่อยู่ในรูปแบบ WWW
21. ระบบแอดเดรสบน WWW ในการอ้างอิงถึงเซิร์ฟเวอร์ เว็บไซท์ เว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นใดบนอินเทอร์เน็ต จะทำ โดยใช้ Address หรือที่อยู่ของข้อมูลนั้น ซึ่งมีการกำหนดรูปแบบไว้เป็นพิเศษ เรียกว่า URL (Uniform Resource Locator) หมายถึง ชื่อนำของเว็บเพื่อบอกกับ Browser ให้รู้ว่าต้องไปที่ไหน โดยส่วนมากทุก ๆ หน้าของเวบจะต้องเริ่มด้วย http:// และตามด้วยชื่อโดเมนเนมของเว็บที่ ต้องการไป
22. ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ URL http :// www . provision . co . th / book / catalog.htm ชื่อโปรโตคอลหรือวิธีการติดต่อที่ใช้กันทั่วไปในการดึงเว็บเพจ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ WWW ชื่อเน็ตเวิร์กย่อย ประเภท บริษัท ประเทศไทย ไดเร็คทอรี ชื่อและสกุลไฟล์
23. TCP/IP คืออะไร TCP/IP ย่อมาจาก Transmission Control Protocol / Internet Protocol เป็นชุดของโปรโตคอล ( protocol ) ที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และ สามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ โปรโตคอล ( protocol ) คือ ขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบข้อกำหนด และมาตรฐานต่าง ๆ ที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถติดต่อสื่อสารกันได้สำเร็จ
24. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของ ตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้ อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนผู้ใช้ รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
25. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร
26. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet ) 1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์ แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ สาย ได้ ในเขตกรุงเทพ PCT Next Data Card อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย ด้วยความเร็วแบบคงที่ 32/64 Kbps
27. 
28. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet) 2. 1 WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไ ร ้ สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการ พัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะ มีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
29. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 2. 2 GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูล ได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่ง ใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณ ข้อมูลที่รับ - ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้ รวดเร็วขึ้นด้วย
30. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 2. 3 โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่ง ข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูล ระบบมัลติมีเดียได้ด้วย 2. 4 เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อ ใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้ สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซ
31. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก (Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำ หน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่ เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
32. บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต 1. บริการด้านการสื่อสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับส่ง E-mail กับผู้ใช้อื่น ๆ ในเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สนทนาแบบออนไลน์ การพูดคุยตอบโต้กันในเครือข่ายได้ในเวลาเดียวกันโดยการพิมพ์ข้อความผ่านทาง Keyboard เรียกบริการแบบนี้ว่า Talk กรณีที่เป็นการคุยกัน 2 คน และเรียกว่า chart กรณีที่คุยกันเป็นกลุ่ม (Internet Relay Chat หรือ IRC) กระดานข่าว หรือ Bulletin Board System (BBS) เป็นกลุ่มข่าวหรือ newsgroup ที่ทุกๆวันจะมีผู้ส่งข่าวสารผ่านเครือข่าย โดยแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มตามความสนใจ เช่น กลุ่มผู้สนใจศิลปะ , เพลง , กีฬา , วัฒนธรรม เป็นต้น FTP(File Transfer Protocol) เป็นบริการโอนย้ายไฟล์ข้อมูล หรือไฟล์โปรแกรมต่าง ๆ (download) เช่นไฟล์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ , ไฟล์ข้อความ , ไฟล์รูปภาพหรือเสียง เป็นต้น
33. บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต 2. บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากใน Internet มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ เชี่ยวชาญในแขนงต่าง ๆ เก็บข้อมูลเพื่อ เผยแพร่เอาไว้มากมาย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการวิจัยและเตรียมข้อมูลได้มากและ เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดยักษ์ให้ใช้งานได้ทันที Archie Gopher WAIS(Wide Area Information Service)
34. Intranet & Extranet ระบบเครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) ก็คือระบบเครือข่ายภายในองค์กรที่ช่วยในการ ทำงานร่วมกัน (Workgroup) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการทำงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร ประโยชน์ของอินทราเน็ต 1. ลดต้นทุนในการบริหารข่าวสาร 2. ช่วยให้ได้รับข่าวสารที่ใหม่ล่าสุดเสมอ 3. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างฉับไว 4. เสียค่าใช้จ่ายต่ำ
35. Intranet & Extranet ระบบเครือข่ายเอ็กทราเน็ต (Extranet) หรือเครือข่ายภายนอกองค์กร ก็คือระบบ เครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร (INTRANET) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็น ต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Link) ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบ เครือข่าย Intranet จำนวนหลายๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้ โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิใน การใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภทๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้งานอินเตอร์

                อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฎกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ
1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย
                ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ
                ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น
                ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลาเลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง
                ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ
ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย
-เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ
-เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
-ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต
-ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย
-ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
-ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย
-ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
-หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
-ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย
-ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่
ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย
-ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง
-ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
- มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
-ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
-ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
-ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
-ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
-ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
-ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น
-ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย
-ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

Social Network

Social Network คือ สังคมออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เนทได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ เช่น
Hi5
Friendster
My Space
Face Book
Orkut
Bebo
Tagged
เว็บ SNS (Social Network Site) เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเว็บที่สร้างขึ้นมาเพื่อการตอบสนองความต้องการในการติดต่อธุรกิจหรือหาเพื่อนบนโลกไซเบอร์ทั้งสิ้น