วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556


บทที่ 2 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึก




หลักการเริ่มต้นในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน

                ทุกท่านคงจะทราบกันเป็นอย่างดีว่า ในปัจจุบันนี้การแข่งขันทางการค้านั้นสูงมาก เวลาทุกเสี้ยววินาทีหมายถึง ผลประโยชน์อันมีค่าของบริษัท ถ้าหากช้าเพียงนิดเดียว ก็อาจจะเสียโอกาสทางการค้าได้ ในงานทางวิศวกรรมก็เช่นกัน เวลาที่ใช้ในการออกแบบ และสร้างผลิตภัณฑ์ หมายถึงโอกาสทางการค้า และผลประโยชน์ของบริษัท อย่างไรก็ดี เพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ งานออกแบบ และสร้างผลิตภัณฑ์ทางวิศวกรรมนั้น ต้องคำนึงถึงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ และฟังก์ชั่นการทำงาน ที่มีลูกเล่นหลากหลาย รวมไปถึงความปลอดภัย ในการใช้งาน ที่ได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ด้วยเหตุนี้ก็อาจจะก่อให้เกิดความล่าช้า ในการออกแบบ และทดสอบผลิตภัณฑ์ต้นแ บบขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และถ้าหากว่า ผลิตภัณฑ์ต้นแบบนั้น ไม่ผ่านมาตรฐานการทดสอบ ก็อาจจำเป็นจะต้องย้อนกลับมาแก้ไข ออกแบบ และทำการสร้าง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบกันใหม่อีก
                ดังนั้นขั้นตอนในการออกแบบจึงเป็นจุดสำคัญที่จะสร้างความมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะ สามารถผ่านมาตรฐานการทดสอบต่างๆได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การออกแบบรถยนต์ ที่นอกจากจะต้องมีรูปทรงสะดุดตา และดึงดูดใจผู้ซื้อแล้ว ในขณะเดียวกันนั้นรถยนต์ ก็ยังจำเป็นต้อง มีความปลอดภัยในการใช้งานที่สูง และเ ชื่อถือได้ การประยุกต์เอาคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการออกแบบ และจำลองการทดสอบ (simulation) ได้ถูกนำเอามาใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ทั้งนี้ก็เพื่อลดเวลา และค่าใช้จ่ายในการออกแบบและ พัฒนาผลิตภัณฑ์ และก็เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมานั้น สามารถผ่านการทดสอบได้ ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม การจำลองปัญหาบนคอมพิวเตอร์ เป็นการประหยัดเงิน ทุนในการวิจัย และพัฒนาได้เป็นอย่างมาก
                อีกทั้งผลคำตอบที่ได้ก็เป็นที่ยอมรับและสอดคล้องเป็นอย่างดีกับการทดลองจริง เมื่อต้นทุน การวิจัย และระยะเวลาในการออกแบบลดลง ต้นทุนของสินค้าก็ลดตามลง ราคาสินค้าก็จะถูกลง ทีนี้ผู้บริโภคก็มีกำลังซื้อผลิตภัณฑ์นั้นได้
                คราวนี้ทุกท่านคงจะเห็นประโยชน์ของการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ ในการออกแบบ สร้างผลิตภัณฑ์ กันบ้างแล้วนะครับ คราวนี้ผมก็จะขอกล่าวถึง รายละเอียดการใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร ์มาจำลองการทดสอบกันต่อไป โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็คือ โปรแกรมไฟไนท์เอลิเมนต์ ไฟไนท์เอลิเมนต์ คืออะไร? ไฟไนต์เอลิเมนต์ คือวิธีการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ เขียนเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อใช้คำนวณ แก้ปัญหาทางวิศวกรรม เช่น คำนวณหาความแข็งแรง ของวัสดุหรือชิ้นส่วนเครื่องกล ศึกษาพฤติกรรมการไหลของของไหล การถ่ายเทความร้อน ในชิ้นส่วนเครื่องกล รูปแบบการกระจายของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นเสียง ฯลฯ ทำไมจึงจำเป็นต้องใช้วิธีไฟไนท์เอลิเมนต์ ? คำตอบ มีมากมาย ประการแรกก็คือ ในการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องกล เราจำเป็นต้องรู้ขีดความสามารถในการรับภาระ ของชิ้นส่วนนั้น ถ้าหากรูปทรงของชิ้นส่วนไม่ซับซ้อน เราก็สามารถคำนวณหา คำตอบที่แน่แท้ได้ (analytical solution) แต่ถ้ารูปทรงของชิ้นส่วนซับซ้อน เราจำเป็นต้องใช้ วิธีไฟไนท์เอลิเมนต์ เพื่อช่วยในการคำนวณหาค่าความเค้น (stress) ความเครียด (strain) หรือการเสียรูปทรง (deformation) ของชิ้นส่วนนั้นได้ หลักการของวิธีไฟไนท์เอลิเมนต์ กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ เราทำการเติมรูปทรงของผลิตภัณฑ์ ด้วยชิ้นส่วนเล็กๆ ที่มีรูปทรงเรขาคณิต เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ลูกบาศก์ เป็นต้น เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาคำตอบที่แน่แท้ ของชิ้นส่วนที่มีรูปทรงเรขาคณิตได้ ดังนั้นเมื่อ เราเติมชิ้นส่วนเล็กๆ เหล่านี้ลงไปในชิ้นส่วนใหญ่ เราก็สามารถศึกษาพฤติกรรมโดยรวมของระบบได้ ประวัติของวิธีไฟไนท์เอลิเมนต์? แนวคิดเบื้องต้นของวิธีไฟไนท์เอลิเมนต์ เริ่มมาจาก การหาวิธีการ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้าง ของเครื่องบิน Hrenikoff ได้เสนอการใช้ วิธี frame work เพื่อแก้ปัญหาทาง elasticity เป็นรายแรก ต่อมาในปี ค.ศ. 1943 Courant ก็ได้ตีพิมพ์บทความวิชาการ เกี่ยวกับการนำวิธีการ polynomial interpolation บนขอบเขตสามเหลี่ยม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประมาณผลคำตอบ และนอกจากนี้ Courant ก็ยังแนะ นำการใช้วิธีการของ Rayleigh-Ritz มาใช้ในการหาผลคำตอบ ของปัญหาทางวิศวกรรมอีกด้วย ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของวิธีไฟไนท์เอลิเมนต์นั่นเองจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1953 วิศวกรจึงได้นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ มาแก้สมการของ stiffness matrix เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นอีกเจ็ดปี Clough จึงได้ตั้งชื่อวิธีการนี้ว่า วิธีการไฟไนท์เอลิเมนต์ ในปี ค.ศ. 1960 ไฟไนท์เอลิเมนต์ในปัจจุบัน
                ในปัจจุบันแทบจะพูดได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ได้ผ่านการออกแบบด้วย วิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์แทบทั้งนั้น ดังเช่นที่ผมได้ยกตัวอย่างเอาไว้ตอนต้นเกี่ยวกับ การออกแบบรถยนต์ ที่เรียกได้ว่าไฟไนท์เอลิเมนต์ ได้มีส่วนร่วมแทบทุกชิ้นส่วนเลยทีเดียว ผลิตภัณฑ์พลาสติกก็เช่นกัน ได้มีการนำเอาไฟไนท์เอลิเมนต์ มาศึกษาการไหลของน้ำพลาสติก เพื่อใช้ออกแบบ แม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่สามารถผลิตชิ้นงานที่มีขนาด, รูปทรงที่มีความเที่ยงตรงสูง และมีผิวเรียบสวยงา

ผลกระทบของคอมพิวเตอร์กับมนุษย์

      ผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์ ยุคที่เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทกับชีวิตมนุษย์มากขึ้น และการพัฒนาของคอมพิวเตอร์นั้น มีความรวดเร็วมาก และมีประสิทธิภาพเทียบเท่า หรือดีกว่าการทำงานของมนุษย์ ซึ่งเห็นได้ว่าในต่างประเทศใช้หุ่นยนต์มาทำงานแทนมนุษย์ ในอนาคตคาดว่ามนุษย์อาจตกงาน เพราะหุ่นยนต์ทำงานได้ดีกว่า ไม่มีเหนื่อย และไม่เสี่ยงอันตรายเหมือนกับการใช้มนุษย์ ถ้าแบ่งผลกระทบการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์ จะแบ่งได้ 2 อย่าง คือ ผลกระทบทางตรง ผลกระทบทางอ้อม
ผลกระทบทางตรง เริ่มในเรื่องอวัยวะของมนุษย์ สิ่งที่สำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ คือ ตา เมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ไปนานๆ หรือเพ่งจอมากๆจะทำให้รู้สึกว่าปวดตา อาจทำให้สายตามีปัญหา เช่น สายตาสั้น ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ หรือคนที่เล่นเกม ซึ่งเด็กนักเรียนนักศึกษาเล่นกัน
มาก บางครั้งการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ถ้าเล่นจนเกินขอบเขต เกินความพอดี อาจเป็นอย่างที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีนักศึกษาเล่นเกมจนช็อตตายคาร้าน อินเตอร์เน็ต
การใช้คอมพิวเตอร์นานๆ เมื่อไหร่จะพักสายตา ตรงนี้อาจจะสังเกตจากตาของเราว่าเมื่อใช้ไปนานๆ จะเริ่มปวดตาควรจะหยุด โดยละสายตามองทางอื่น หรือลุกขึ้นไปเพื่อผ่อนคลายก่อน แล้วจึงลงมานั่งทำงานต่อ อย่าฝืนมากเกินไปอาจจะเป็นผลเสียกับตัวเอง อาจจะมองเห็นเป็นภาพเบลอๆ แต่เป็นอาการชั้วคราว สาเหตุก็เกิดจากรังสีออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ อาการที่เกิดขึ้นจากการมองจอภาพเป็นเวลานานๆ นี้เรียกว่า Computer Vision Syndrome (CVS)

ปัจจัยสําคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
 1. จอภาพ (Monitor)
จอแบบ LCD
    การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน
2. เคส (Case)
     เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น
3. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
     เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
4. คีย์บอร์ด (Keyboard)
     เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก
5. เมาส์ (Mouse)
     อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด
6. เมนบอร์ด (Main board)
     แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วย กัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
7. ซีพียู (CPU)
     ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้ งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
     1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้
     2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon
8. การ์ดแสดงผล (Display Card)
การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย
หลักกันทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
9. แรม (RAM)
RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็น หน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันทีโดยหลักการทำงานคร่าวๆ ของแรมนั้นเริ่มต้นที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Inputจากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยัง CPU ในการประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จแล้ว แรมจะรับข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ออกไปยังอุปกรณ์ Output ต่อไป โดยหน่วยความจำแรมที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR-RAM, RDRAM
10. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindleทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน
11. CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW
เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้ คือ CD-RW หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับHarddiskการทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็ก เตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น
12. ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้
สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น

การศึกษาผลกระทบของชิ้นงานที่สร้างขึ้น

ผลกระทบในทางบวก
ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์
เทคโนโลยี สารสนเทศช่วยทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีขึ้นช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพ ในการทำงานทำให้มนุษย์มีเวลาอ่านข่าวมากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงภัยกับงานที่มีอันตรายมีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ทำ ให้ติดต่อถึงกันได้สะดวกมีระบบคมนาคมขนส่งที่รวดเร็ว สามารถใช้โทรศัพท์ในขณะเดินทางไปมายังที่ต่างๆ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ลิฟต์ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศมีเครื่องช่วยให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น วิทยุ โทรทัศน์มีรายการให้เลือกชมได้มากมายมีการแพร่กระจาย สัญญาณโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียมทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้ข่าวสารต่างๆจากทั่วทุกมุมโลกได้อย่าง รวดเร็วเหมือนอยู่ในเหตุการณ์
ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น
ระบบ การผลิตสินค้าในปัจจุบันเป็นระบบที่ต้องการผลิตสินค้าจำนวนมากมีคุณภาพ มาตรฐานการผลิตในสมัยปัจจุบัน ใช้เครื่องจักรทำงานอย่างอัตโนมัติสามารถทำงานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง สินค้าที่ได้คุณภาพและปริมาณพอเพียงกับความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันมีความพยายามที่จะสร้างหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีผลต่อการผลิตมาก
ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่
เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้งานค้นคว้าวิจัย ในห้องปฏิบัติการวิจัยต่างๆ มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นคอมพิวเตอร์ช่วยงานคำนวณที่ซับซ้อน ซึ่งแต่ก่อนยากที่จะทำได้ เช่น งานสำรวจทางด้านอวกาศงานพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์และสารเคมีต่างๆ ทำให้ได้สูตรยารักษาโรคใหม่ๆ เกิดขึ้น มากมาย ปัจจุบันงานค้นคว้าวิจัยทุกแขนงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณ ต่างๆ นักวิจัยนักวิทยาศาสตร์ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ในการจำลองรูปแบบของสิ่ง ที่มองไม่เห็นตัวใช้ในการค้นหาข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่ว โลก       สามารถค้นหารายงานวิจัยที่มีผู้เคยทำไว้ แล้วและที่เก็บไว้ในห้องสมุดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วงานวิจัยต่างๆ มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นเพราะเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่อย่างมาก
ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
ปัจจุบัน เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ล้วนแล้วแต่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการดำเนิน การช่วยในการแปลผลเรามีเครื่องมือตรวจหัวใจ  ที่ทันสมัยมีเครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่สามารถตรวจดูอวัยวะต่างๆของร่าง กายได้อย่างละเอียดมีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจค้นหา โรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่ทันสมัยหรือแม้แต่การผ่าตัดก็มีเครื่องมือช่วยในการ ผ่าตัดที่ทำให้คนไข้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นมีเครื่องมือที่คอยวัดและ ตรวจสอบสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างละเอียดระบบการรักษาพยาบาลจากที่ ห่างไกล เช่น คนไข้อยู่ที่จังหวัดชายแดนและขาดแคลนแพทย์เฉพาะทางแพทย์ผู้ทำการรักษาสามารถ ส่งคำถามมาปรึกษาหารือกับแพทย์ผู้ชำนาญ การเฉพาะได้มีการรวบรวมความรู้ของแพทย์ชำนาญการจัดสร้างเป็นฐานความรอบรู้ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้นนอกจาก นี้ยังมีการพัฒนาเครื่องมือช่วยคนพิการต่างๆเช่นการสร้างแขวนเทียม ขาเทียมการสร้างเครื่องกระตุ้นหัวใจสร้างเครื่องช่วยฟังเสียง หรือมีการพัฒนาเทคโนโลยี การปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญต่างๆ รวมทั้งการผลิตยาและวัคซีนสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้าช่วยด้วย
ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์
คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นที่ทำให้การทำงานต่างๆทำงานได้รวดเร็วและมีความแม่นยำสามารถเก็บข้อมูลต่างๆไว้ได้มากการแก้ปัญหา ที่ซับซ้อนบางอย่างกระทำได้ดีและรวดเร็วงานบางอย่างถ้าให้มนุษย์ทำอาจต้องเสียเวลาในการคิดคำนวณตลอดชีวิตแต่คอมพิวเตอร์ สามารถทำงานเสร็จในเวลาไม่กี่วินาที ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาจำลองเหตุการณ์ต่างๆเพื่อให้มนุษย์หาทางศึกษาหรือแก้ไขปัญหา เช่น การจำลองสภาวะของสิ่งแวดล้อม การจำลองระบบมลภาวะจำลองการไหลของเหลวการควบคุมระบบจราจร หรือแม้แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาจำลองในสภาพที่เหมือนจริง เช่นจำลองการเดินเรือจำลองการขับเครื่องบิน การขับรถยนต์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เหมือนจริงๆได้หากมีการผิดพลาดก็ไม่ทำให้เกิดอันตรายคอมพิวเตอรจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนรู้ของมนุษย์ ได้ดีปัจจุบันมีการนำ์้บทเรียนมาไว้ในคอมพิวเตอร์และให้เรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI) คอมพิวเตอร์ยังเป็นเครื่องมือที่ให้ นักเรียน นิสิต นักศึกษาสมัยใหม่เชื่อมโยงติดต่อกันทางอินเทอร์เน็ต สามารถเรียกค้นข้อมูลข่าวสารทางเครือข่ายสามารถเรียนรู้ การใช้คอมพิวเตอร์หรือเรียนจากที่ห่างไกลได้ คอมพิวเตอร์จึงมีบทบาท ที่ทำให้มนุษย์ได้รับข่าวสารมากขึ้นกว่าเดิมและเป็นหนทางที่ทำให้เกิดสติปัญญาอย่างแท้จริง

ผลกระทบในทางลบ
ทำให้เกิดอาชญากรรม
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการก่อให้เกิดอาชญากรรมได้โจร ผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนการปล้นวางแผน การโจรกรรมมีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสารมีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลขบัญชี ด้วยคอมพิวเตอร์การลอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิด ปัญหาหลายอย่าง เช่นการแก้ไขระดับคะแนนของนักศึกษาการแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลคนไข้ผิดซึ่งเป็น การทำร้ายหรือฆาตรกรรมดังที่เห็นในภาพยนตร์
ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย
 การ ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเห็นตัวการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกม มีลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียวทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่ามนุษย์สัมพันธ์ของบุคคลจะลดน้อย   ลงสังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพากันมาก
ทำให้เกิดความวิตกกังวล
ผล กระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวล ว่าคอมพิวเตอร์ อาจทำให้เกิดการว่าจ้างงานน้อยลงมีการนำเอาหุ่นยนต์ มาใช้ในงานมากขึ้นมีระบบการผลิตที่อัตโนมัติมากขึ้นทำให้ ผู้ใช้แรงงานอาจตกงานหรือหน่วยงานอาจเลิกว่าจ้างได้โดยความเจริญ แล้วความคิดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับบุคลากรบางคน เท่านั้นแต่ถ้าบุคคลนั้นมีการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีหรือมีการพัฒนาให้ มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น
ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ
ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้าข้อมูลสินค้าและบริการต่างๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากเหตุอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้น้ำท่วมหรือด้วยสาเหตุ     ก็ตามทำให้ข้อมูลหายหมดย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง
ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมาก
  ประเทศที่เป็นต้นตำรับของเทคโนโลยีสามารถนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูงทำให้หมิ่นเหม่
ต่อสงครามที่มีการทำลายล้างสูงเกิดขึ้น
ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว
คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัดการนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่ กับผู้ใช้จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเรื่อง สำคัญดังเช่นการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีผู้สร้างโฮมเพจหรือสร้างข้อมูลข่าวสาร ในเรื่องภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นภาพอนาจารหรือภาพที่ทำให้ ผู้อื่นเสียหายการดำเนินการเช่นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้ดำเนิน การนอกจากนี้ยังมีการปลอมแปลงระบบจดหมายเพื่อส่งจดหมายถึง ผู้อื่นโดยมีเจตนากระจายข่าวที่เป็นเท็จจริยธรรมการใช้งานครือข่ายเป็น เรื่องสำคัญที่ต้องปลูกฝังอย่างมาก


กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์

        ชิ้นงานที่สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์นั้นจำเป็นต้องอาศัยซอฟต์แวร์ในการทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์และอาจจะต้องมีการใช้ระบบการสื่อสารในอิเตอร์เน็ต เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ดังนั้นผู้สร้างชิ้นงานต้องมีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเริ่มการผลิต ในระหว่างการผลิต จนถึงความรับผิดชอบเมื่อผลงานได้ถูกนำไปใช้แล้ว ซึ่งมีข้อปฏิบัติและกฎหมายที่ควรรู้ ดังนี้
1.พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชอฟต์แวร์ที่นำมาผลิตชิ้นงาน จนถึงการคุ้มครองชิ้นงานที่ผลิตขึ้นด้วย ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับชิ้นงาน คือ
ส่วนที่ 6

                                                            ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่
ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และ
ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
 มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งาน อันมีลิขสิทธิ์ตาม
วรรคหนึ่งมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่น ในครอบครัว
หรือญาติสนิท
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในงานนั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการ พิจารณา
ของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการ พิจารณาดังกล่าว
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ ในการสอน
ของตน
อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา
 เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่
เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
มาตรา 33 การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควร จากงานอันมี
ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตาม มาตรา 
32 วรรคหนึ่ง
มาตรา 34 การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัตินี้
มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์
เพื่อหากำไร
และได้ปฏิบัติตาม
 มาตรา 
32 วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
(2) การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการ วิจัยหรือการศึกษา
มาตรา 35 การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
 มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตาม
มาตรา 
32 วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ใน
โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์
ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อ
หรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษา
หรือป้องกันการสูญหาย
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ใน การพิจารณาของศาล
หรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงาน ผลการพิจารณาดังกล่าว
(7) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบ ในการสอบ
(8) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
(9) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง
หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน 

 2.พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เป็นกฎหมาย 
ที่ทุกคนต้องคำนึง เนื่องจากสร้างชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์ ย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งผลกระทบทางด้านลบ อาจเป็นการผิดจริยธรรม
ในการใช้โดยทั่วไป เช่น การสร้างโปรแกรมตรวจงานของพนักงานบริษัท ซึ่งอาจจะ
เป็นการละเมิดหากนำมาใช้กับบุคคลทั่วไป ดังนั้น ในการสร้างชิ้นงานคอมพิวเตอร์
ต้องศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่สร้างชิ้นงานที่ก่อให้เกิดการละเมิดกระทำ
ผิดกฎหมาย ซึ่งในประเทศไทยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชิีนงานคอมพิวเตอร์
ครอบคลุมการสื่อสารในอินเทอร์เน็ตมีหมวดที่ผู้ผลิตชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์ควรรู ดังนี้ 
ฐานความผิดตามแต่ละมาตรา
โทษจำคุก
โทษปรับ
มาตรา 5
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
ไม่เกิน 6เดือน
ไม่เกิน 10,000บาท
มาตรา 6
การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้น แล้วนำไปเปิดเผยโดยมิชอบ
ไม่เกิน 1 ปี
ไม่เกิน 20,000บาท
มาตราึ 7
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
ไม่เกิน 2 ปี
ไม่เกิน 40,000บาท
มาตรา 8
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหารโดยมิชอบ ทั้ง ๆที่ข้อมูลนั้น มิใช่มีไว้เพื่อสาธารณะ
ไม่เกิน 3 ปี
ไม่เกิน 60,000บาท
มาตรา 9
การทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหายโดยมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเิติมข้อมูล
ไม่เกิน 5 ปี
ไม่เกิน100,000 บาท
มาตรา 10
การกระทำใด ๆ เพื่อขัดขวางหรือรบกวนการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
ไม่เกิน 5 ปี
ไม่เกิน100,000 บาท
มาตรา 11
การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือส่งอีเมลขยะเพื่อเข้าไปรบกวน การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข
ไม่มี
ไม่เกิน100,000 บาท
มาตรา 12
ถ้ามีการกระทำผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา10
     (1) แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในท้นทีหรือเกิดขึ้นในภายหลัง
     (2) แล้วส่งผลต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศและเศรษฐกิจของประเทศ
     (3) ได้กระทำผิดตาม (2) แล้วเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย


ไม่เกิน10ปี

3-15 ปี
10-20 ปี


ไม่เกิน200,000 บาท

60,000-300,000 บาท
ไม่มี
มาตรา 13
การจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้น เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดตามมาตรา 5, 6, 7, 8, 9, 10 หรือ 11
ไม่เกิน1ปี
ไม่เกิน 20,000บาท
มาตรา 14
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์กระทำความผิด ไม่ว่าจะเป้นการเผยแพร่เนื้อหาอันเป็นเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน หรือเสียหายต่อความมั่นคง ของประเทศ การเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ในลักษณะลามก ไม่เหมาะสม
ไม่เกิน 5 ปี
ไม่เกิน100,000 บาท
มาตรา 15
ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด
ไม่เกิน 5 ปี
ไม่เกิน100,000 บาท
มาตรา 16
การนำภาพของบุคคลมาตัดต่อ ดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่น่าจะส่งผลให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
ไม่เกิน 3 ปี
ไม่เกิน 50,000บาท
มาตรา 17
ผู้ที่ทำผิดอยู่นอกราชอาณาจักร
      1) ผู้ทำความผิดเป็นคนไทย และประเทศที่เกิดความผิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
      2) ผู้ทำความผิดเป็นคนต่างด้าว และคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น